พิธีการจัดตั้งโต๊ะหมู่บูชา คริสเตียนทำได้หรือไม่?
คริสเตียน จัดตั้งโต๊ะหมู่บูชาได้หรือไม่ หากพิจารณาจากพระคัมภีร์?
ดาวน์ืโหลดอ่าน PDF
พิธีการจัดตั้งโต๊ะหมู่บูชา โดย…นาวาเอก สุนทร สันติธัช
การจัดตั้งโต๊ะหมู่บูชาสำหรับตั้งพระพุทธรูปพร้อมทั้งเครื่องสักการบูชา นับว่าเป็นสิ่งสำคัญที่ขาดมิได้ ทั้งในพระราชพิธี รัฐพิธี หรือพิธีทั่วไป จะเป็นงานมงคลหรืองานอวมงคลก็ตาม นิยมตั้งโต๊ะหมู่บูชาทั้งสิ้น เพราะการทำบุญของชาวพุทธในครั้งพุทธกาล นิยมนิมนต์พระพุทธเจ้าเป็นประธาน พร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์จำนวนที่ต้องการ
ดังนั้น การทำบุญที่มีพิธีสงฆ์ในปัจจุบัน จึงนิยมอัญเชิญพระพุทธรูป ซึ่งถือว่าเป็นเครื่องหมายแทนองค์พระพุทธเจ้ามาประดิษฐานไว้ในพิธีนั้น เพื่อให้พระรัตนตรัยคือพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ ครบบริบูรณ์ แม้ในการทำพิธีอื่นที่ไม่มีพระสงฆ์ เช่น การประชุมสัมมนา การประดับยศ การมอบประกาศนียบัตร เป็นต้น ก็นิยมตั้งโต๊ะหมู่บูชาแสดงความเคารพพระรัตนตรัย เพื่อทำใจให้สงบอันเป็นจุดเริ่มต้นที่จะทำการต่าง ๆ ให้เป็นสิริมงคลต่อไป อีกทั้งเพื่อเป็นเหตุให้เจริญตาและเกิดปีติสุขแก่ผู้ร่วมในพิธีด้วย
ในปัจจุบัน การจัดตั้งโต๊ะหมู่บูชาถือเป็นเอกลักษณ์ของชาติไทย ทั้งเป็นวัฒนธรรมประเพณีที่สำคัญ และเป็นมรดกของชาติส่วนหนึ่ง ซึ่งนิยมตั้งใน ๒ กรณี คือ
๑. ในพิธีทางพระพุทธศาสนา เช่น การทำบุญ (ที่เป็นพิธีการ) การฟังเทศน์ เป็นต้น
๒. ในพิธีถวายพระพร หรือตั้งรับเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว หรือสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ
การจัดตั้งโต๊ะหมู่บูชาส่วนมากนิยมหมู่ ๕ หมู่ ๗ หรือ หมู่ ๙ มีหลักอยู่ว่า ให้ตั้งไว้ต้นแถวด้านขวามือของพระสงฆ์ที่เป็นประธาน และให้พระพุทธรูปหันพระพักตร์ออกทางเดียวกับพระสงฆ์ โดยถือเสมือนว่าพระพุทธเจ้าเป็นประธานสงฆ์นั่นเอง และตามความนิยม มักจะให้หันพระพักตร์ไปทางทิศเหนือ ด้วยถือว่าพระพุทธเจ้าเป็นโลกอุดร หรือหันไปทางทิศตะวันออก เพราะในคราวตรัสรู้นั้นพระพุทธองค์ทรงผินพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออก แต่ถ้าสถานที่ไม่อำนวยจะหันพระพักตร์ไปทางทิศใด ๆ ก็ไม่เกิดโทษ และไม่มีข้อห้าม
เครื่องประกอบที่ใช้ในการจัดตั้งโต๊ะหมู่บูชานั้น ได้แก่ พานพุ่มหรือพานดอกไม้ แจกันดอกไม้ เชิงเทียน และกระถางธูป ซึ่งอาจมีปริมาณมากน้อยแตกต่างกันไปตามจำนวนของโต๊ะหมู่ที่นำมาใช้ตั้งในแต่ละงาน
การจัดเครื่องบูชาบนโต๊ะหมู่บูชา ถือว่ามีความสำคัญที่ผู้จัดมักทำด้วยความประณีตบรรจง เพื่อแสดงความเคารพต่อพระรัตนตรัยและเพื่อแสดงถึงศิลปะในการจัดเครื่องบูชา นอกจากนี้ ผู้จัดโต๊ะหมู่บูชาควรทราบหลักเกณฑ์การจัด กล่าวคือ การตั้งเครื่องบูชาทุกชนิดจะต้องไม่สูงกว่าพระพุทธรูปที่ประดิษฐานบนโต๊ะหมู่บูชา ส่วนปริมาณนั้นอาจจะแตกต่างกันไปตามประเภทของโต๊ะหมู่ และแบบที่ต้องการ
พระพุทธรูปและความหมายของดอกไม้ธูปเทียน
พระพุทธรูป ที่ใช้ในการประกอบพิธีจะเป็นพระพุทธรูปปางอะไรก็ได้ (ยกเว้นปางไสยาสน์ซึ่งเป็นพระนอนไม่นิยมกัน) พระพุทธรูปถือว่าแทนองค์พระพุทธเจ้าผู้เป็นศาสดาของเราทั้งหลาย
ธูป ๓ ดอก ใช้บูชาพระพุทธเจ้าผู้ทรงพระคุณ ๓ ประการ คือ
- พระปัญญาคุณ
- พระวิสุทธิคุณ
- พระมหากรุณาคุณ
เปรียบเทียบว่าธูปนั้นเมื่อจุดมีกลิ่นหอม แต่เมื่อไฟลามหมดดอก ความหอมจะสิ้นไป แต่ความหอมของพระพุทธคุณไม่มีวันจาง บ้างก็เปรียบเทียบว่าธูปนั้นมีไว้สำหรับเผา เราจึงควรเผากิเลสของเราเสียบ้าง
เทียน ๒ เล่ม ใช้บูชาพระธรรม ซึ่งประกอบด้วยพระธรรม ๑ พระวินัย ๑ เปรียบเทียบว่าเทียนเป็นแสงส่องทางฉันใด พระธรรมเป็นเครื่องให้ความสว่างแก่จิตใจฉันนั้น
ดอกไม้ ใช้บูชาพระสงฆ์ ดอกไม้นานาชนิดเปรียบเหมือนคนที่มาจากวรรณะต่าง ๆ เมื่อมาบวชเป็นพุทธบุตรมีค่าควรแก่การกราบไหว้เสมอกัน บางแห่งเปรียบเทียบว่าดอกไม้เมื่อนำมาจัดอยู่ในพานหรือแจกัน ดูงดงาม หมายถึงความเป็นระเบียบเป็นหมวดหมู่ ดุจดังพระสงฆ์ที่อยู่ในพระธรรมวินัย
สัญลักษณ์ในแผนผังมีดังนี้
หมายถึง พระพุทธรูป
หมายถึง พระบรมฉายาลักษณ์
หมายถึง พระบรมรูป
หมายถึง เครื่องทองน้อย
หมายถึง ธูปเทียนแพ
หมายถึง พานดอกไม้
หมายถึง พานพุ่มทอง-เงิน
หมายถึง แจกัน
หมายถึง เชิงเทียน
หมายถึง กระถางธูป
ที่มา : http://www.engineerrtmc.com/modules.php?name=Forums&file=download&id=17
แก้ไขล่าสุด (วันจันทร์ที่ 19 กรกฏาคม 2010 เวลา 10:43 น.)