เบื่อไหม? สแปมเมล์ (Spam MAIL)
-ได้รับอีเมล์แปลกๆบ่อยๆ ไม่รู้ว่าเขาได้อีเมล์ของเราได้อย่างไร?
-ได้รับอีเมล์ FW ส่งต่อๆกันมาประจำ วันละหลายๆฉบับ
-มีอีเมล์โฆษณาขายของสารพัดส่งมาให้วันๆหนึ่งจำนวนมหาศาล
-รู้สึกกับการไปไล่ตามลบอีเมล์ที่ไร้สาระ
โปรดอ่านตรงนี้

ระวังการสมัครเป็นสมาชิก หรือให้อีเมล์ทิ้งไว้ในเว็บบอร์ด หรือกับเว็บไซต์ต่างๆแบบไม่คิด ปัญหาตามมาก็คือพวกไม่สงค์ดีมักจะใช้โปรแกรมสร้างขึ้นมาเพื่อดูดอีเมล์ในเว็บไซต์ หรือในเว็บบอร์ดแล้วเอามาจัดเก็บไว้ในลิสรายชื่อ จากนั้นก็จะเอามารวบรวมขายตามอินเตอร์เน็ต โดยอ้างว่าเขามีฐานข้อมูลลูกค้าเป็นอีเมล์ และเบอร์โทรจำนวนแสนๆราย แล้วหากมีบางคนรู้เท่าไม่ถึงการก็มาซื้อไป สัก 500 ราย จากนั้น 500 รายนั้นก็ติดตั้งโปรแกรมส่งเมล์ไปโดยหวังเพียงว่าหากลุ่มเป้าหมายนั้น โดยแนะนำเว็บไซต์ แนะนำสินค้า ขายของสำหรับผู้หญิงผู้ชาย แม้ว่าการส่งอีเมล์จะไม่ประสบความสำเร็จ 100% แต่คนที่ส่งก็หวังว่าจะส่งได้สำเร็จแค่ 1% ก็พอใจ นี่คือแรงจูงใจที่พวกเขาคิดกระทำ โดยไม่สนใจว่าคนที่เป็นเจ้าของอีเมล์จะพบความยากลำบากแค่ไหน
ปัญหาคือว่า ถ้ารายชื่อของคุณไปตกอยู่กับคนเหล่านั้น ที่ดูดอีเมล์รายชื่อของคุณไปขายต่อๆกันไม่รู้ไปถึงไหนตกไหน อะไรจะเกิดขึ้น ก็แน่ละอีเมล์ของคุณจะกลายเป็นตู้ไปรษณีย์สาธารณะชน ที่ใครอยากจะเอาอะไรมาฝาก มาติดป้ายโฆษณาก็สามารถทำได้ง่ายๆ แล้วโลกส่วนตัวจะเป็นอย่างไร วันหนึ่งๆจึงมีอีเมล์แปลกโผล่มาเต็มไปหมด บางครั้งมีไวรัสติดมาด้วยอีกต่างหาก นี่คือเวรกรรมของคนใช้อีเมล์ก็ว่าได้ (พูดกันในภาษาชาวโลก) อีเมล์ของคุณจะไม่สะดวกนักสำหรับการใช้งานในพันธกิจของพระเจ้า หรือในทางธุรกิจอีกต่อไป
หากพี่น้องมีโอกาสอยากรู้จักมากขึ้นก็ลองอ่านบทความอื่นๆต่อจากนี้ด้านล่าง.....
www.thaichristians.net
www.church.or.th
www.serverchristian.com
สแปมเมล์ (Spam MAIL)
เมื่อพูดถึงอีเมล์ผู้ใช้งานส่วนใหญ่คงเคยประสบกับปัญหาการใช้งานอินเทอร์เน็ตเมื่อเราเปิดดู Mail Box ทุกครั้งต้องกลุ้มอกกลุ้มใจกับปริมาณ อีเมล์ขยะ [Junk Mail] ที่มีจำนวนมากมายมหาศาล และแต่ละไฟล์ก็ไม่ใช่เล็กๆเป็นระดับ 52 KB ขึ้นไปทั้งนั้น ส่งผลให้เมล์บ็อกซ์เต็มเร็วมาก จนไม่สามารถรับเมล์จากเพื่อนๆหรือลูกค้าได้ ทำให้ต้องพลาดข้อมูลสำคัญๆทุกที่ อย่างไรก็ตาม เมื่อดูรายชื่อ หรืออีเมล์แอดเดรสที่ส่งมาก็ล้วนแต่เป็นคนที่เราไม่รู้จัก หรือเป็นคนที่เราเคยติดต่อเลย นอกจากนี้ ยังมีบรรดาไฟล์แนบต่างๆ ที่ทั้งเป็นไฟล์ภาพ JPEG, ZIP และ Doc อันที่จริงเจ้าของอีเมล์ที่ส่งมาก็ไม่ได้ตั้งใจส่งมาให้กับเรา แต่ตัวเขาเหล่านั้นก็โดนโทรจันใช้เป็นฐานยิงสแปมเมล์ เช่นเดียวกัน โดย สแปมเมล์ [Spam MAIL] นั้นคืออีเมล์ที่ถูกส่งออกมาคราวละมากๆ เพื่อหวังผลด้านการโฆษณา หรือขายสินค้า นอกจากปัญหาการถูกโจมตีโดยสแปมเมล์แล้ว ยังมีภัยเงียบที่น่ากลัวสำหรับผู้ใช้อินเทอร์เน็ต ที่หลายคนไม่ค่อยรู้จักหรือตระหนักถึงคือ เรื่อง ความปลอดภัยบนเครือข่ายไร้สาย [Wireless Security] ที่กำลังเป็นแฟชั่นสำหรับออฟฟิศยุคนี้ด้วย นายปริญญา หอมอเนก ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาผู้เชี่ยวชาญดานเครือข่าย และความปลอดภัยคอมพิวเตอร์ เล่มให้ฟังว่า จากที่ได้ร่วมการประชุมคณะกรรมการ ที่ปรึกษาความปลอดภัยข้อมูล แห่งเอเชียที่ประเทศฮ่องกงเป็นเจ้าภาพ สรุปได้ว่า ปัญหาใหญ่ที่ฮ่องกงกำลังเผชิญอยู่ในเวลานี้ คือ ปัญหา SPAM MAIL เป็นปัญหาอันดับหนึ่งที่ทำให้การติดต่อสื่อสารผ่านทางอินเทอร์เน็ต ประสบกับปัญหาติดขัด เนื่องจากจำนวนข้อมูลของ SPAM MAIL นั้น มีจำนวนมหาศาลในแต่ละวัน ตลอดจนผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ต้องเสียเวลาในการกำจัด SPAM MAIL และที่เพิ่มเติมมาอย่างน่ากลัวคือการล่อลวงแบบฟิชชิ่ง [Phishing] “ด้านความปลอดภัยของระบบ LAN ไร้สาย หรือ Wireless LAN กำลังได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ขณะที่ความปลอดภัยของระบบ Wireless LAN ยังคงเป็นปัญหาที่ต้องได้รับการแก้ไขอย่างถูกวิธี เราควรติดตั้งระบบ Wireless LAN ให้ปลอดภัยตามหลักการด้าน Information Security เพื่อลดความเสี่ยง ที่อาจเกิดขึ้นจากผู้ไม่หวังดี เช่น ติดตั้ง Access Point หรือ AP ในตำแหน่งที่เหมาะสม จำกัด MAC Address เฉพาะที่เราอนุญาต จัดการกับ spam คือ เมล์ที่เราไม่ต้องการเป็นประเภทหนึ่งของ Junk เมล์
จุดประสงค์ของผู้ส่ง spam mail
มักต้องการโฆษณาบริการต่างๆ ที่ตัวเองมีอยู่ spam mail เป็นการส่งอีเมล์แต่ละฉบับไปหาคนจำนวนมาก spam คือ e-mail ลักษณะหนึ่ง ที่ส่งถึงท่าน หรือคนทั่วโลก โดยผู้ส่งไม่จำเป็นต้องรู้จักท่านมาก่อน เพราะเขาใช้โปรแกรมหว่านแห ส่งไปทั่ว เท่าที่จะส่งไปได้ และมักเป็น e-mail ที่เราท่าน ไม่พึงประสงค์เป้าหมายส่วนใหญ่ของ spam คือเชิญชวนให้ท่านไปซื้อสินค้า หรือแนะนำเว็บทางการค้า ที่เจ้าของเว็บจ่ายเงินจ้าง hacker เก่งๆ ให้สร้าง spam ให้กับเว็บของตน หรืออาจเกิดจากนักเจาะระบบสมัครเล่น ที่ชอบทดลอง ก็เป็นได้ และปกติเราจะไม่สามารถควานหาตัว ผู้สร้าง spam ได้โดยง่าย เพราะพวกเขามีวิธีพลางตัว ที่ซับซ้อนยิ่งนัก เช่น login จาก server หนึ่งกระโดดไปอีก server หนึ่ง แล้วจึงจะเริ่มเจาะ server เป้าหมาย ที่สถาบันผมเจอมาแล้วว่า มีคนเข้า server ผมได้แล้วใช้เป็นทางผ่านไปเจาะญี่ปุ่นบ้าง อเมริกาบ้าง อังกฤษบ้าง พอเช็ค account ก็เป็นของนักศึกษาที่ไม่เคยใช้ internet มาก่อนเลยก็มี โดยปกติ server ทุกแห่ง จะไม่อนุญาตให้สมาชิก หรือให้บริการส่ง spam หากใครทำแล้วจับได้ จะถูกตัดสิทธิ์การใช้บริการทันทีแต่ server บางแห่งมีระบบรักษาความปลอดภัยที่อ่อน ทำให้มี hacker เข้าไปติดตั้งโปรแกรม หรือ set ระบบให้ส่ง spam ออกไป ถ้าผู้ดูแลระบบไม่มีความรู้เท่าทัน hacker ก็จะไม่สามารถจัดการอะไรได้เพราะหลักการ และทฤษฎีเกี่ยวกับ server มีมากมาย
ที่มา http://www.dmsc.moph.go.th
วิธีการปัองกัน/ลดปัญหาอีเมลขยะ
คงเป็นการยากที่จะแก้ไขปัญหาอีเมลขยะได้ 100 เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากปัจจุบัน มีเทคนิคต่างๆ มากมายในการเข้าถึงอีเมลของเรา แต่เราสามารถป้องกันหรือลดจำนวนการเพิ่มของอีเมลขยะเหล่านี้ได้ไม่ยาก เพียงแค่ทำงานคำแนะนำดังต่อไปนี้
1.ไม่ใช้อีเมลในองค์กร?เพื่อ register ในเว็บไซต์ต่างๆ?เพราะว่าปัจจุบันมีโปรแกรมดูดอีเมล ทำให้อีเมลของเราอาจถูกนำไปใช้ในการซื้อขาย เพื่อส่งข้อมูลต่างๆ?
2.ควรมีอีเมลแยกต่างกัน สำหรับอีเมลเพื่อการ register บนเว็บไซต์ อาจใช้บริการฟรีอีเมลต่างๆ ที่มีในเว็บไซต์ต่างๆ
3.ไม่เปิดรับอีเมล์จากบุคคลหรือบริษัทที่เราไม่รู้จัก ทั้งนี้ ถ้ามีการเปิดรับ จะเป็นการยืนยันว่าอีเมลของเรามีตัวตนจริง ทำให้ผู้ส่ง ส่งอีเมล์ขยะเพิ่มขึ้นเข้ามา
4.บางอีเมลขยะ จะมีคำแนะนำว่า ให้ยกเลิกการส่ง หรือ?Unsubscribe อีเมลได้ถ้าไม่พอใจ?เพื่อให้ยกเลิกการส่ง? แต่กลับเป็นการยืนยันว่าอีเมลของเรามีตัวตนจริง ทำให้ผู้ส่ง ส่งอีเมลขยะเพิ่มขึ้นเข้ามา (เรื่องนี้คงต้งพิจารณาเป็นรายๆ ไป)
5.ไม่ทำการส่งต่ออีเมลประเภท จดหมายลูกโซ่
6.บางองค์กรจะมีระบบในการจัดการอีเมลขยะ ให้เราแจ้งมาไปยัง admin ของผู้ดูแลระบบอีเมล เพื่อปัองกันได้
7.กำหนด options ในโปรแกรมอีเมล เพื่อสั่งลบไฟล์อีเมลขยะแบบอัตโนมัติ (ให้ศึกษาจากคู่มือของโปรแกรมที่ใช้แต่ละโปรแกรมอีกครั้ง)
เชื่อว่าถ้าทำได้ดังนี้ จะช่วยลดปัญหาอีเมลขยะลงได้ อย่างน้อยก็คงทำให้เราไม่ได้รับอีเมลขยะเพิ่มขึ้นอย่างมากมายเช่นทุกวันนี้
ที่มา :: www.it-guides.com
จดหมายขยะ โฆษณาบนความรำคาญของผู้ใช้อินเทอร์เน็ต (ดร.ธันวา ศรีประโมง)
จาก http://www.issarachon.com
จาก http://www.eng.mut.ac.th
วันนี้ก็เหมือนกับทุกๆ วัน... สิ่งแรกที่ผมกระทำเมื่อผมเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ในตอนเช้าก็คือ การตรวจสอบว่ามีใครส่งจดหมายอิเลคทรอนิคส์หรือ “e-mail” มายังผมบ้าง มีเพียงสิ่งหนึ่งที่อาจจะแตกต่างไปจากวันก่อนๆ อยู่เล็กน้อยก็คือ วันนี้จดหมายอิเลคทรอนิคส์ทุกฉบับที่ผมได้รับล้วนแล้วแต่เป็นจดหมายที่ผมไม่ต้องการทั้งสิ้น ผมนึกไปถึงสมัยที่ผมเรียนอยู่ที่อังกฤษ จดหมายที่ถูกหย่อนลงในช่องจดหมายหน้าบ้านส่วนมากมักจะเป็นแผ่นพับโฆษณา บ้างก็เป็นอาหารราคาถูกในย่านนั้น หรือไม่ก็พวกขอให้สมัครบริการนั่นโน่นนี่ เมื่อผมกลับมายังเมืองไทย จดหมายบางส่วนยังคงติดตามข้ามฟ้ามาถึงผมที่เมืองไทย และผมเริ่มเห็นว่า บริษัทเมืองไทยบางบริษัทก็เริ่มเอาอย่าง แต่ส่วนมากยังคงจำกัดอยู่เฉพาะกับบริษัทที่คุณได้สมัครเป็นสมาชิก หรือสมัครขอใช้บริการจากบริษัทนั้นๆ จดหมายเหล่านี้ในต่างประเทศถูกเรียกว่า “จดหมายขยะ” หรือ Junk mail เพราะจดหมายเหล่านี้ส่วนใหญ่จะไม่มีผลใดๆ กับคุณ และมักเป็นสิ่งที่คุณไม่ได้ต้องการข้อมูลเหล่านั้นอยู่แล้ว เมื่อเราๆ ท่านๆ มีช่องทางจดหมายอิเลคทรอนิคส์เป็นช่องทางการติดต่อสื่อสารใหม่ เจ้าจดหมายขยะเหล่านี้ก็พัฒนาการเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งด้วยเช่นกัน และสำหรับหลายๆ คน การที่ได้รับจดหมายขยะหลายสิบฉบับต่อวันที่กองท่วมจดหมายที่คุณต้องการเพียงสองสามฉบับต่อวัน นับเป็นสิ่งที่น่ารำคาญอย่างยิ่ง และบ่อยครั้งที่จดหมายเหล่านี้มักมีของแถมร้ายแรงอย่างเช่นฝากไวรัสหรือหนอนคอมพิวเตอร์เข้ามาฝังในระบบของคุณอีกด้วย
จดหมายขยะอิเลคทรอนิคส์คืออะไร?
เจ้าจดหมายอิเลคทรอนิคส์ขยะเหล่านี้มีการเรียกกันในหลายชื่อ ชื่อที่นิยมเรียกกันก็คือสแปม “spam” ซึ่งมักจะใช้เรียกจดหมายที่ถูกส่งมาจากแหล่งที่อาจจะมีตัวตนหรือไม่ก็ตาม และมักจะเป็นโฆษณาขายบริการ ผลิตภัณฑ์ ไปจนะถึงโฆษณาชวนเชื่อในลักษณะแชร์ลูกโซ่ หลอกให้จ่ายเงินล่วงหน้าเพื่อรับโชคก้อนใหญ่ อย่างพวกที่อ้างว่า ตนเป็นคนในประเทศแถวๆ แอฟริกา ต้องการโอนเงินให้กับคนในสหรัฐ หรือที่อื่น แต่เนื่องจากติดปัญหาเรื่องระบบการโอนเงินของแอฟริกาหรืออะไรทำนองนั้น จึงไม่สามารถโอนให้โดยตรงได้ จำเป็นจะต้องขอใช้บัญชีเงินฝากของคุณในการโอนเงิน และจะให้รางวัลอย่างงาม (เงินรางวัลคิดแล้วเป็นเงินร่วมแสนร่วมล้านบาท) สแปมส่วนมากมักจะเป็นอีเมล์ประเภทข้อมูล HTML (ซึ่งเป็นโครงสร้างเอกสารแบบเดียวกันกับที่เว็ปไซต์ทั่วไปใช้ในการแสดงข้อความ) และมักจะแฝงชุดคำสั่งที่อาจจะฝังไวรัสคอมพิวเตอร์หรือหนอนคอมพิวเตอร์เข้ามาในระบบคุณได้หากคุณมิได้อัปเกรดบราวเซอร์หรือระบบปฏิบัติการของคุณอย่างสม่ำเสมอ ในบางครั้งซึ่งไม่บ่อยครั้งนัก บางท่านอาจจะโดนจดหมายขยะเข้ามาเป็นจำนวนมาก เช่นอาจจะถึงร่วมๆ ร้อยฉบับต่อวัน โดยที่ในทุกฉบับมีข้อความเดียวกัน และอาจจะมีขนาดใหญ่มากจนทำให้พื้นที่ในการรับจดหมายของคุณไม่เพียงพอ (ส่งผลให้คุณไม่สามารถรับอีเมล์จากรายอื่นได้เลย) กรณีนี้เรียกว่า Mail bomb
ข้อกฏหมายกับจดหมายขยะ?
ในบางประเทศ การส่งจดหมายขยะถือเป็นสิ่งผิดกฏหมาย และสำหรับในยุคที่การส่งจดหมายขยะอิเลคทรอนิคส์มากมายจนท่วมอินเทอร์เน็ต จึงได้มีกฏระเบียบขึ้นมาควบคุมจดหมายเหล่านี้ กฏระเบียบโดยทั่วไปที่เราจะพบเห็นก็คือ ตัวกฏหมาย(ในต่างประเทศ)มิได้ห้ามการส่งจดหมายขยะ แต่ในจดหมายเหล่านี้ จะต้องมีข้อความหรือจุดเชื่อมต่อ ที่แจ้งให้ผู้รับทราบว่า จะไปยกเลิกการรับจดหมายจากที่ไหน ซึ่งลักษณะบริการแบบนี้เรียกกว่า opt-out
หลังจากที่มีระเบียบในลักษณะดังกล่าวเกิดขึ้นมาอย่างชัดเจน ทำให้จดหมายขยะมีจำนวนมากขึ้น และหลายๆ ฝ่ายกำลังพิจารณาทางเลือกใหม่ซึ่งจะกำหนดไม่ให้มีการส่งจดหมายประเภทนี้ไปยังผู้รับก่อนที่จะได้รับการยินยอมจากผู้รับ ลักษณะแบบนี้เรียกว่า opt-in โดยการรับบริการอาจจะอยู่ในรูปของการสมัครสมาชิกหรือใช้บริการบนเว็ปไซต์ใดเว็ปไซต์หนึ่ง แล้วจะมีข้อความขอคำยินยอมจากผู้สมัครว่า จะสามารถส่งจดหมายอิเลคทรอนิคส์ไปยังผู้รับได้หรือไม่ และอีกจุดที่คุณจะต้องระวังก็คือ จะมีข้อความถามต่อไปว่า จะสามารถส่งข้อมูลของคุณไปยังบริษัทอื่นที่จะทำการส่งจดหมายมายังคุณได้หรือไม่ ซึ่งในสองประเด็นนี้ มักจะถูกกำหนดตัวเลือกให้เป็น “ยอมรับ"”ไว้ล่วงหน้า ถ้าคุณมิได้ตรวจดูถ้อยคำเหล่านี้ คุณอาจจะได้ทำการสมัครและยอมรับจดหมายขยะจำนวนมากเข้ามาอย่างไม่รู้ตัว สำหรับในเมืองไทย เราคงต้องคอยดูว่ากฏหมายเกี่ยวกับอินเทอร์เน็ตในเรื่องที่สัมพันธ์กับจดหมายขยะจะเป็นอย่างไร และจะมีกรณีตัวอย่างต่อไปอย่างไร แต่เท่าที่ผ่านมายังมิได้เห็นการจัดการใดๆ เกี่ยวกับเรื่องนี้อย่างมีแนวทางชัดเจนนัก
คุณสมบัติที่วไปของจดหมายขยะ
ก่อนที่เราจะมาดูวิธีการป้องกันแก้ไข เรามาลองดูคุณสมบัติทั่วไปของจดหมายขยะเหล่านี้ ทั้งนี้เพื่อจะได้เข้าใจถึงจุดหมายของจดหมายขยะ เข้าใจถึงผลกระทบ และจะได้หาทางป้องกันหรือลดไม่ให้จดหมายขยะเข้ามากวนกับชีวิตในอินเทอร์เน็ตของคุณได้
1. จดหมายเหล่านี้มักเป็นจดหมายโฆษณาเว็ปไซต์ หรือการให้บริการอย่างใดอย่างหนึ่ง นี่เป็นจุดประสงค์หลักอันหนึ่งของจดหมายขยะ ที่จะต้องการขายบริการให้แก่คุณ ซึ่งบริการหลายอย่างนั้น บ่อยครั้งไม่สามารถจะโฆษณาผ่านช่องทางปกติได้โดยสะดวก อย่างเช่นโฆษณาเกี่ยวกับการเสริมความงามทั้งของท่านหญิงและท่านชาย โฆษณาขายซอฟต์แวร์ หนังสือ เป็นต้น และด้วยค่าใช้จ่ายในการส่งที่ถูกมากจนอาจจะเรียกได้ว่าฟรี และเป้าหมายคือคนทั่วโลก จดหมายขยะในปัจจุบันจึงมักจะข้ามน้ำข้ามทะเล(มาทางสายเคเบิลใต้น้ำหรือไม่ก็ดาวเทียม) มาจนถึงคุณได้สะดวกและรวดเร็วยิ่งกว่าการส่งจดหมายปกติทั่วไป ยิ่งในช่วงหลังที่คนไทยเริ่มตื่นตัวกับช่องทางนี้ เดี๋ยวนี้คุณก็จะได้รับจดหมายขยะจากคนไทยในจำนวนอาจจะไม่น้อยหน้ากว่าจากต่างประเทศเลย
2. ชื่อผู้ส่งมักจะไม่สามารถค้นหาที่มาได้ และชื่อผู้รับมักจะไม่ใช่อีเมล์คุณ ด้วยเหตุที่การส่งจดหมายขยะ เสี่ยงต่อข้อกฏหมาย(ในต่างประเทศ) และเสี่ยงต่อเว็ปไซต์ของผู้ส่งจะต้องถูกปิดลงจากการละเมิดการใช้งาน (โดยทั่วไปแล้ว ผู้ให้บริการพื้นที่เว็ปไซต์ และผู้ให้บริการอีเมล์ มักจะกำหนดว่าการส่งจดหมายขยะเป็นการละเมิดข้อตกลงในการใช้งาน) จดหมายขยะเหล่านี้จึงอาศัยช่องโหว่ของระบบการรับส่งอีเมล์ ในการส่งอีเมล์โดยอาศัยโปรแกรมที่ออกแบบมาโดยเฉพาะ ส่งจดหมายขยะเข้าไปยังเมล์เซอร์เวอร์ต้นทาง และผ่านมายังคุณโดยอาศัยอีเมล์แอดเดรสที่อาจจะเก็บมาจากเว็ปไซต์ต่างๆ ไปจนถึงการกว้านซื้อมาจากไซต์ที่บอกรับสมาชิกต่างๆ ในราคาถูก และในทางปฏิบัติ ผู้ส่งจดหมายขยะอาจจะทำการล็อกอินเข้ามายังระบบเมล์เซอร์เวอร์ปลายทาง (ของ ISP หรือของบริษัทของคุณเอง) แล้วส่งจดหมายมาถึงคุณโดยตรงก็ยังได้ สิ่งที่จะช่วยในการควานหาต้นตอแท้จริงของจดหมายขยะเหล่านี้ยังพอมี แต่จะต้องอาศัยความร่วมมือของ ISP ต้นทางในการให้ข้อมูลหมายเลข IP และรายชื่อผู้ใช้งานในขณะนั้นๆ ซึ่งมักจะทำได้ลำบากเพราะข้อมูลดังกล่าวจะมิได้เก็บย้อนหลังไว้นาน ( ISP หลายแห่งอาจจะเก็บไว้เพียงสองวันย้อนหลัง) และส่วนมากมักจะถูกส่งมาจากต่างประเทศ หรือร้ายกว่านั้น อาศัยการเจาะระบบเข้าไปโดยตรง หรือผ่านทางไวรัส โทรจัน หรือหนอนคอมพิวเตอร์ ทำให้ไม่สามารถค้นหาเจ้าของผู้ส่งแท้จริงได้โดยง่าย
3. จุดเชื่อมต่อที่แจ้งให้คุณสามารถถอนชื่อออก มักทำงานไม่ได้ หรือไม่ก็อาจจะมีจุดประสงค์อื่นที่แฝงไว้แทน นี่เป็นอีกจุดหนึ่งที่สร้างความรำคาญให้กับจดหมายขยะในสายตาของผู้ใช้อย่างเราๆ ท่านๆ เมื่อเราพยายามติดตามจุดเชื่อมต่อไปยังเว็ปไซต์ที่ทำการถอดถอนบริการ มักจะไม่สามารถถอดถอนบริการได้ แถมร้ายไปกว่านั้น ช่องทางนี้ในระยะหลังถูกใช้เป็นช่องทางตรวจสอบว่าอีเมล์ของคุณนั้น คุณได้ใช้งานอยู่หรือไม่ การที่คุณไปยกเลิกการขอใช้บริการจดหมายขยะฉบับหนึ่ง อาจจะมีค่าเท่ากับคุณออกไปตะโกนหน้าบ้านว่า “ฉันอยู่นี่ ช่วยส่งจดหมายขยะมาให้ฉันอีกเยอะๆ ฉันชอบ” อะไรทำนองนี้ล่ะครับ
4. มักจะส่งมาในลักษณะของ HTML format จดหมายขยะมักจะอยู่ในรูปของโครงสร้างเอกสารแบบเดียวกันกับที่ใช้ในเว็ปไซต์ทั่วไป ทั้งนี้จุดประสงค์หลักเพื่อจะได้สามารถออกแบบหน้าตาให้สวยงามได้ แต่เหนือไปกว่านั้น อาจจะสามารถสอดแทรกชุดคำสั่งที่จะอาศัยช่องโหว่ในระบบของคุณ แล้วส่งโปรแกรมอื่นๆ เข้ามาทำงานด้วย
5. เว็ปไซต์ที่เชื่อมต่อไปนั้น มักจะไม่มีข้อมูลรายละเอียดในตัวสินค้ามากนัก ในบางกรณีอาจจะมีเบอร์โทรศัพท์ไว้ให้คุณติดต่อไป เพื่อจะได้ทำการเข้าถึงตัวคุณได้โดยตรง
6.หัวข้อจดหมายขยะมักจะเป็นข้อความที่ดูน่าสนใจ หรือไม่ก็อาจจะหลอกลวงตั้งแต่ต้น ด้วยจุดมุ่งหมายจะให้คุณเปิดอ่านให้ได้ จดหมายขยะมักจะใช้ข้อความอย่างเช่น “นี่คือคำตอบที่คุณได้ร้องขอเราไป” หรือ “ผมได้ส่งไฟล์มาแล้วตามที่ร้องขอ” ไปจนถึง “คุณได้รับอนุมัติบัตรเครดิตแล้ว” “งานรายได้งามบนอินเทอร์เน็ต” และบางครั้งหัวข้อก็อาจจะเป็นหัวข้ออื่นที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับตัวจดหมายขยะเลย ส่วนจดหมายขยะส่วนที่ส่งมาผ่านทางช่องทางที่คุณสมัคร มักจะไม่อาศัยข้อความในลักษณะเชิญชวน แต่จะเป็นข้อความที่เกี่ยวพันกับเอกสารตามปกติ ซึ่งจะทำให้คุณสามารถแยกแยกจดหมายขยะที่ถูกส่งมาจากช่องทางที่ถูกกฏหมาย กับจดหมายขยะที่ลักลอบส่ง หรือมีลักษณะไม่ชอบมาพากลได้ในระดับหนึ่ง
จะทำอย่างไรเมื่อได้รับจดหมายขยะ?
เมื่อได้รับจดหมายขยะ หรือสงสัยว่าเป็นจดหมายขยะ สิ่งที่คุณควรจะระลึกปฏิบัติไว้มีดังนี้ครับ
1. อย่าเปิดอ่าน นี่เป็นสิ่งแรกที่คุณจะต้องไม่ปฏิบัติ ทั้งนี้เพราะจดหมายขยะมักจะมาในรูปของ HTML ซึ่งสามารถเชื่อมไปยังไซต์ของผู้ส่งจดหมายขยะ และส่งข้อความตอบรับอย่างอัตโนมัติกลับไป เป็นการยืนยันว่าอีเมล์ของคุณนั้นมีอยู่จริง แต่สำหรับหลายๆท่าน อาจจะบ่นกลับมาว่า “อ้าว... ถ้าไม่เปิดอ่านแล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นจดหมายขยะ” วิธีการคือดังนี้ครับ คุณจะ “ต้องไม่เปิดอ่าน” โดยอาศัยโปรแกรมอ่านอีเมล์ที่ถูกกำหนดให้แสดงเอกสารในรูปแบบ HTML ได้ นั่นคือ หากคุณไม่ชอบที่จะใช้โปรแกรมอีเมล์แบบเก่าๆ ที่เปิดอ่านได้เฉพาะข้อความแบบ text คุณก็อาจจะต้องปิดการทำงานในการแสดงผลของโปรแกรมอีเมล์ในรูปของ HTML เสีย อนึ่ง หากคุณใช้โปรแกรมกรองอีเมล์ที่ผมจะได้กล่าวต่อไป โปรแกรมเหล่านั้นมักจะมีขีดความสามารถในการแสดงข้อความโดยไม่มีการจัดรูปตาม HTML ซึ่งจะทำให้ปิดโอกาสที่อีเมล์จะส่งคำยืนยันกลับไปยังต้นทางได้
2. อย่ากดลิงค์ใดๆ ไปยังไซต์ปลายทาง โดยเฉพาะในช่อง “ยกเลิกการรับอีเมล์” ทั้งนี้เพราะจดหมายขยะจำนวนหนึ่ง ใช้จุดเชื่อมต่อดังกล่าวในการยืนยันว่าอีเมล์แอดเดรสของคุณนั้นใช้งานได้ การเข้าไปยังจุดเชื่อมต่อดังกล่าว เท่ากับว่าเป็นกระกาศตัวคุณให้กับจดหมายขยะอีกจำนวนมากที่จะส่งมายังคุณในอนาคต
3. อย่าส่งจดหมายต่อว่า ด่าทอ หรือขอร้องใดๆ ให้เลิกส่งจดหมายขยะมายังคุณอีก ทั้งนี้ด้วยเหตุผลก็คือ เมล์ของคุณอาจจะไม่มีวันได้ถึงปลายทางที่แท้จริง (ถ้าโชคดีไปถึงผู้รับปลายทาง ก็จงแอ่นอกรับจดหมายขยะอีกจำนวนมากที่จะติดตามมา) และที่แย่ไปกว่านั้น ชื่ออีเมล์ผู้ส่งอาจจะเป็นอีเมล์ของบุคคลจริงๆ แต่มิได้เกี่ยวพันใดๆ กับจดหมายฉบับนั้น ทั้งนี้ก็เนื่องด้วยเหตุผลที่ผมได้กล่าวมาแล้วถึงช่องโหว่ของระบบรับส่งจดหมายอิเลคทรอนิคส์เอง
สิ่งที่คุณจะทำกับจดหมายขยะก็คือ ลบทิ้งไป ไม่ต้องทำอะไรทั้งสิ้น เพราะจดหมายขยะโดยทั่วไปมักจะไม่สามารถสาวไปถึงต้นตอได้โดยง่าย ยกเว้นแต่ถ้าเป็นจดหมายขยะที่ออกมาโดยไซต์ที่คุณเห็นแล้วว่าน่าเชื่อถือได้จริงๆ คุณจึงค่อยทำการยกเลิกการใช้บริการ (ที่คุณอาจจะเผลอเรอลืมยกเลิก เวลาที่คุณสมัครสมาชิกในเว็ปไซต์ใดเว็ปไซต์หนึ่ง)
4. แยกอีเมล์ที่คุณติดต่อกับบุคคลทั่วไป กับบุคคลที่เกี่ยวข้องกับคุณโดยตรงไว้คนละตัวกัน ในการสมัครสมาชิกใดๆ บนอินเทอร์เน็ต ในการใช้งานเว็ปบอร์ดใดๆ ไปจนถึงการติดต่อทั่วไปโดยอาศัยระบบแช็ท ไอซีคิว และอื่นๆ บนอินเทอร์เน็ต คุณควรจะใช้อีเมล์ที่คุณไปสมัครฟรีจากเว็ปไซตืฟรีทั่วไป ทั้งนี้เพื่อถ้าอีเมล์ดังกล่าวโดนใช้เป็นช่องทางรับจดหมายขยะ คุณจะได้ไปบอกเลิกใช้บริการและหันไปใช้อีเมล์ใหม่แทนได้โดยสะดวก เก็บอีเมล์ที่คุณใช้ติดต่องานของบริษํทของคุณไว้สำหรับใช้เป็นการภายในบริษัท หรือกับลูกค้าที่เชื่อถือได้ของคุณเท่านั้น
5. อย่าประกาศชื่ออีเมล์แอดเดรสของคุณในเว็ปไซต์ใดๆ อย่างเด็ดขาด ทั้งนี้เพราะอาจจะถูกโปรแกรมค้นหาข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต ทำการกว้านตัวอีเมล์แอดเดรสอัตโนมัติ ซึ่งอีเมล์เหล่านี้จะถูกนำไปใช้โดยผู้ที่ต้องการส่งจดหมายขยะมาถึงคุณ
ถ้าคุณมีความจำเป็นที่จะต้องลงอีเมล์แอดเดรสไว้ คุณอาจจะเขียนอย่างเช่น chanaDELETEHETE@company.co.th ทั้งนี้เพื่อผู้อ่านจะได้รับทราบว่าจะต้องลบคำว่า DELETEHERE ออกไปจึงจะใช้งานได้ และเพื่อโปรแกรมกว้านอีเมล์แอดเดรสจะได้อีเมล์ที่ผิดไป และจะได้ไม่มีจดหมายขยะมาถึงคุณจากช่องทางดังกล่าว
6.ใช้โปรแกรมกรองอีเมล์ ในกรณีที่คุณไม่สามารถหลีกเลี่ยงจดหมายขยะได้ ผมแนะนำอย่างยิ่งที่จะติดตั้งโปรแกรมกรองอีเมล์ ซึ่งหลายโปรแกรมนั้นแจกจ่ายฟรีบนอินเทอร์เน็ต โปรแกรมฟรีตัวหนึ่งที่ผมแนะนำก็คือ MailWasher ที่จะสามารถเทียบอีเมล๋ที่มากับระบบฐานข้อมูลในอินเทอร์เน็ต และกรองจดหมายขยะออกได้ในจำนวนหนึ่ง และคุณอาจจะตรวจสอบอีเมล์ขยะด้วยตนเอง และกรองออกได้ในอีกระดับหนึ่ง (คุณสามารถกำหนดไม่ให้รับจดหมายจากอีเมล์ดังกล่าวต่อไป หรือจากไซต์นั้นๆ ต่อไป)
ผมหวังว่า คำแนะนำที่ผมได้กล่าวมานี้ คงจะเป็นประโยชน์ต่อท่านผู้อ่านได้ไม่มากก็น้อย ในยุคที่นักโฆษณาชวนเชื่อ พยายามใช้ช่องทางอินเทอร์เน็ตในการขายสินค้า และบริการ เราๆ ท่านๆ ในฐานะผู้ใช้อินเทอร์เน็ต คงต้องเรียนรู้ที่จะหาทางป้องกันตนเองและรักษาสิทธิส่วนบุคคล ปัญหาจดหมายขยะเป็นปัญหาในระดับนานาชาติ ที่การป้องกันโดยการใช้กฏหมายภายในประเทศก็ยังไม่เพียงพอที่จะกำจัดให้หมดสิ้นไปได้ แต่อย่างน้อน ผมหวังว่าในอนาคตอันใกล้ คงจะได้เห็นการตื่นตัวจากภาครัฐ ในการควบคุมการโฆษณาบนอินเทอร์เน็ต และอย่างน้อยที่สุด ช่วยกำจัดจดหมายขยะที่ออกโดยคนไทยด้วยกันให้ลดน้อยหมดสิ้นไปเสียที
แก้ไขล่าสุด (วันศุกร์ที่ 25 มิถุนายน 2010 เวลา 11:20 น.)