"สิทธิ" เสรีภาพมุมมองคริสเตียน
โดย เรวัฒน์ เทพจักร์
สิทธิ หมายถึงอำนาจหรือประโยชน์ที่กฎหมายให้ความคุ้มครองให้ สิทธิ หมายถึง สิทธิตามกฎหมายหรือศีลธรรม ที่จะทำหรือไม่ทำบางอย่าง สิทธิขั้น พื้นฐานที่พึงมีโดยเสมอภาคกัน เพื่อการดำรงชีวิตได้อย่าง มีศักดิ์ศรีมีโอกาสเท่าเทียมกันในการเรียนรู้และพัฒนาศักยภาพของตนเองอย่าง เต็มที่และสร้างสรรค์ ดังนั้นจึงเป็นสิทธิที่ได้มาพร้อมกับการเกิดและเป็นสิทธิติดตัวบุคคลนั้นตลอดไปไม่ว่าจะอยู่ในเขตปกครองใด หรือเชื้อชาติ ภาษา ศาสนาใด ๆ
เว็บปัญญาไทยกล่าวไว้ว่า " สิทธิมนุษยชน หมายถึงแนวคิดเกี่ยวกับมนุษย์ที่ว่า มนุษย์นั้นมีสิทธิหรือสถานะสากล ซึ่งไม่ขึ้นอยู่กับขอบเขตของกฎหมาย หรือปัจจัยท้องถิ่นอื่นใด เช่น เชื้อชาติ หรือ สัญชาติ จาก ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ข้อ 1 กล่าวว่า "มนุษยทั้งหลายทั้งหลายเกิดมามีอิสระเสรี เท่าเทียมกันทั้งศักดิ์ศรีและสิทธิ ทุกคนได้รับการประสิทธิ์ประสาทเหตุผลและมโนธรรม และควรปฏิบัติต่อกันอย่างฉันพี่น้อง"[1] ความดำรงอยู่ ความถูกต้อง และเนื้อหาของสิทธิมนุษยชน เป็นหัวข้อที่เป็นที่โต้เถียงกันมาอย่างต่อเนื่องทั้งในทางปรัชญาและรัฐศาสตร์ ตามกฎหมายแล้ว สิทธิมนุษย ชนได้ถูกบัญญัติเอาไว้ในกฎหมายและข้อตกลงระหว่างประเทศ และในกฎหมายภายในของหลายรัฐ อย่างไรก็ตาม สำหรับคนจำนวนมากแล้ว หลักการของสิทธิมนุษย ชนนั้นกินขอบเขตเลยไปกว่ากฎหมาย และก่อร่างขึ้นเป็นหลักศีลธรรมพื้นฐานสำหรับวางระเบียบภูมิศาสตร์การเมือง ร่วมสมัย สำหรับคนกลุ่มนี้แล้ว สิทธิมนุษยชนคือความเสมอภาคในอุดมคติ "
ทุกวันนี้มีคนมากมายกล่าวถึงสิทธิ บ้างก็เรียกร้องสิทธิ์พึงมี บางประเทศใจกว้างขวางเกินไปถึงขั้นยอมรับว่าเพศที่สามย่อมมีสิทธิ์เชกเช่นเดียวกับผู้คนอื่นๆ แต่ดูเหมือนว่าแต่ละคนจะคาดหวังเรียกร้องมากมายเกินไปเกี่ยวกับการได้มาซึ่งสิทธิ์ บางคนเมื่อได้มาแล้วยังไม่รู้ด้วยซ้ำไปว่าจะเอาสิทธิ์นั้นไปทำอะไรได้บ้าง จะเอาไปต้มไปแกงทานได้หรือไม่ เห็นคนเขาเรียกร้องสิทธิ์ก็ทำตาม ทุกวันนี้หลายคนอ้างว่าทำไปเพราะสิทธิ แต่ความเป็นจริงแล้วสิทธิส่วนบุคคลก็จำเป็นต้องมีระเบียบวินัย ใช่ว่าเอะอะอะไรก็สิทธิ พระคัมภีร์สอนว่าสังคมใดขาดวินัยและขาดจิตสำนึกรับผิดชอบก็วุ่นวาย ต่างคนจะทำอะไรๆตามที่ต้องการ แล้วก็มาอ้างว่าทำไปเพราะสิทธิก็ไม่ถูกต้อง
“พระราชบัญญัติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๒” ซึ่งมีประเด็นสำคัญ พอสรุปได้ดังนี้
(๑) มาตรา ๓ ให้คำจำกัดความว่า “สิทธิมนุษยชน” หมายความว่า ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคลที่ได้รับการรับรอง หรือคุ้มครอง ตามรัฐธรรมนูญแห่ง ราชอาณาจักรไทย หรือตามกฎหมายไทย หรือตามสนธิสัญญาที่ประเทศไทยมีพันธกรณีที่ต้องปฏิบัติตาม ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ หรือศักดิ์ศรีความเป็นคนเป็นสิ่งที่ทุกคนมีติดตัวมาแต่กำเนิด โดยไม่แบ่งแยกเชื้อชาติ สีผิว เพศ ภาษา ศาสนา ความคิดเห็นทางการเมืองหรือแนวคิดอื่น ๆ เผ่าพันธุ์ หรือสังคม ทรัพย์สิน ถิ่นกำเนิด หรือสถานะอื่น ๆ เช่น คนเราทุกคนมีสิทธิได้รับการยอมรับนับถือว่าเป็นบุคคลตามกฎหมายไม่ว่าที่ไหน เมื่อไร (ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ข้อ ๖)
หากเราจะมองย้อนกลับไปดูความจริงจากพระคัมภีร์แล้ว พระเจ้าพระผู้สร้างก็ทรงพระกรุณาต่อมนุษย์ทรงให้พวกเขามีสิทธิเสรีภาพในทุกๆด้าน เป็นตัวของตัวเอง ทำตามที่ตนเห็นว่าดีเสมอ แต่แล้วเราก็พบว่าในสิทธินั้นเอง มนุษย์ก็ทำผิดต่อพระเจ้า และต่อใจตัวเองโดยการทำลายสิทธิเสรีภาพนั้นลงเสีย และเสมือนกำลังฉีกเสรีภาพนั้นลงเสีย พระเจ้าจึงต้องลงโทษมนุษย์และวางระเบียบวินัยแก่เขาใหม่ทั้งระบบ ดังนั้นการกล่าวถึงสิทธิ ควรจะตระหนักว่าในสิทธินั้นเราได้ทำให้คนอื่นเสียเสรีภาพของเขาไปหรือไม่ เราเรียกร้องสิทธิให้ตนเอง แต่ในขณะเดียวกันเราได้เข้าไปทำลายสิทธิของผู้อื่นด้วยหรือเปล่า หากเราทำอะไรก็แล้วแต่โดยไม่คำนึงถึงเสรีภาพของผู้อื่นที่พึงมี ก็เท่ากับว่าเราได้ทำลาย และละเมิดสิทธิของบุคคลอื่นเสียแล้ว และเราเองก็กลายเป็นคนที่เห็นแก่ตัวที่สุด
พระคัมภีร์สอนว่าอย่าทำอะไรในทางชิงดีหรืออวดดีถือดี แต่จงดำเนินถือว่าคนอื่นดีกว่าตนเอง และกำลังสอนให้เรามองเห็นคุณค่าสิทธิของบุคคลอื่นๆ หาไม่ทำไปโดยการทำลายผู้อื่น หรือสร้างความยากลำบากผู้อื่น การกระทำเช่นนั้นถือว่าเป็นการกระทำที่มีน้ำใจกว้างใหญ่มากมาายต่อผู้อื่น หลายคนเรียกร้องสิทธิของตนเองโดยปราศจากความรัก และไม่ได้ยืนอยู่บนความจริงตามพระคัมภีร์ เพียงเพื่ออยากได้มาตามความต้องการของตนและบริวารของตนเองโดยไม่สนใจใยดีว่าคนอื่นจะเป็นอย่างไร นี่ไม่ถือว่าคือการเรียกร้องสิทธิอย่างถูกต้อง
หากนั่งคิดดูสักนิดว่าในโลกนี้หากทุกฝ่ายลุกขึ้นมารวมตัวกันเพื่อเรียกร้องสิทธิของตนเองและบริวาร สังคมโลกจะเป็นอย่างไรหรือ และเราเองจะทำให้สังคมของเราวุ่นวายเลวร้ายไปยิ่งกว่านี้อีกหรือ คงถึงเวลาแล้วหรือยังที่เราจะมาสนใจถึงข้อเท็จจริงว่าอะไรคือความพอดีของคำว่าสิทธิเสรีภาพ และเพื่อว่าเราจะเป็นผู้ได้รับสิทธิอันพึงได้นำมาซึ่งความสุขสงบร่มเย็นแท้ โดยได้รับสิทธิตามที่เราต้องการ โดยไม่ขัดแย้งหรือทำลายสิทธิของคนอื่นๆ ใครที่ควรจะกำหนดได้ว่าอะไรคือสิทธิที่พึงได้ ทุกอย่างหากไม่มีมาตรฐานหรือความพอดี สังคมนั้นๆก็วุ่นวาย...
แก้ไขล่าสุด (วันพุธที่ 09 พฤษภาคม 2012 เวลา 16:58 น.)