8.เรื่อง ความหลุดพ้นขั้นที่ 1 (ตอน 1/3) (Justification) เราได้รับการชำระให้เป็นคนบุญแล้ว
เรื่อง ความหลุดพ้นขั้นที่ 1 (ตอน 1/3) (Justification)
เราได้รับการชำระให้เป็นคนบุญแล้ว
เขียนโดย…บรรพต เวชกามา (ศูนย์พันธกิจอุดรธานี)
วันพุธที่ 8 พฤษภาคม 2012 เวลา 15:25 น.
หลักคำสอนที่ว่าด้วยการหลุดพ้นโดยพระคุณของพระเจ้า โดยไม่ต้องประพฤติตามธรรมบัญญัติ เพื่อจะได้รับการชำระให้เป็นคนบุญในความหลุดพ้นในขั้นที่ 1 (Justification) นี้
-ถูกต่อต้านมาก เพราะทำให้เกิดการเข้าใจผิดง่าย เปาโลก็รู้สึกไวในเรื่องคนที่อยู่ฝ่ายตรงกันข้ามจะวิพากษ์วิจารณ์เป็นอย่างมาก
-ดังนั้น ท่านจึงได้ตอบคำถามเหล่านี้ในงานเขียนของท่านถึงความสำคัญของธรรมบัญญัติ ความสำคัญของการเป็นคนอิสราเอล และการดำเนินชีวิตหลังจากได้รับการชำระให้เป็นคนบุญในความหลุดพ้นแล้ว
หน้าที่ของธรรมบัญญัติในฐานะที่เราหลุดพ้นแล้ว
-เป็นเหมือน “ครูผู้สั่งสอน” (pedagogue) หรือ“ผู้อารักขา” (custodian) คำที่แปลว่า ครูผู้สั่งสอนหรือผู้อารักขานี้ ในภาษากรีกคือคำว่า “Paidagogos” (ไพดาโกกอส) หมายถึง “ผู้จัดการมรดก”ที่ บิดามอบหน้าที่ไว้ให้เป็นผู้ดูแลมรดก จนกว่าถึงวันเวลาที่บิดากำหนดไว้จะมาถึง และถ้าวันที่เปิดพินัยกรรมนั้นมาถึง หน้าที่ของผู้จัดการมรดกก็หมดไป (รม 3:20,31;7:7-14;กท 3:19-29)
-มีหน้าที่เปิดเผยให้เห็นถึงความบาป กระตุ้นให้เราทำบาป กักกันเราให้อยู่ใต้ข้อผูกมัด จนกว่าพระคริสต์จะมาถึง ดังที่ท่านกล่าวว่า “พระคริสต์เป็นจุดจบของธรรมบัญญัติ ดังนั้นทุกๆคนที่มีความเชื่อ จะได้รับการชำระให้เป็นคนบุญในความหลุดพ้นขั้นที่ 1” (รม 10:4)
ความสำคัญหรือสิทธิพิเศษของการเป็นยิว
-มีสิทธิพิเศษที่จะไว้วางใจในถ้อยคำขององค์พระผู้เป็นเจ้า เพราะพวกเขาเป็นคนอิสราเอล ได้รับการทรงให้เป็นบุตรของพระเจ้า สง่าราศีของพระเจ้าปรากฏแก่เขา เขาได้รับบรรดาพันธสัญญา
-พระเจ้าทรงประทานธรรมบัญญัติ และพิธีนมัสการพระเจ้าแก่เขา พวกเขาสืบเชื้อสายจากผู้นำคนสำคัญของชนชาติอิสราเอล และที่สำคัญ พระคริสต์ได้ทรงถือกำเนิดเป็นมนุษย์ในเชื้อชาติของเขา (รม 9:4-5)
ความมั่นคงของพระเจ้าที่มีต่อพวกอิสราเอล
-ไม่เคยทอดทิ้งเขาในฐานะที่เป็นประชาชาติของพระองค์เลย แม้ว่าเขาจะทอดทิ้งพระองค์ และวันหนึ่งเมื่อคนต่างชาติเข้าสู่ราชอาณาจักรของพระเจ้า “ประชาชาติอิสราเอลทั้งสิ้นจะได้รับความหลุดพ้น” (รม 9-11)
-นอกจากนั้น ความหลุดพ้นที่เขาได้รับในพระคริสต์นี้ เป็นความสำเร็จของพันธสัญญาของพระเจ้าที่ให้ไว้กับอับราฮัมเมื่อหลายพันปีมา แล้ว (กท 3:14)
-พระเยซูคริสต์เป็น “ความหวังของพวกอิสราเอล” (กจ 26:6-7;28:20)
-ชุมชนของพระเจ้าแห่งพระเยซูคริสต์ เป็นชนชาติอิสราเอลของพระเจ้า และเมื่อเป็นของพระคริสต์แล้ว ก็เป็นพงศ์พันธุ์ของอับราฮัม คือเป็นผู้รับมรดกตามพระสัญญา (กท 3:29;6:16)
-ในที่สุดทุกสิ่งทุกอย่างที่จะเกิดขึ้นเหล่านี้ เป็นไปตามที่กล่าวไว้แล้วในพระคำของพระเจ้า (รม 3:21;1 คร 15:3 ฯลฯ)
คำถามเกี่ยวกับการประพฤติหลังจากได้รับความหลุดพ้นโดยพระคุณแล้ว
-ถ้าหลุดพ้นโดยพระคุณเพราะความเชื่อแล้ว เราสามารถทำความบาปได้ตามสบายหรือไม่
-ถ้าพระเจ้าอภัยโทษบาปเสมอ และเราได้รับพรหมวิหารสี่ อันได้แก่ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา (พระคัมภีร์ภาษาไทยแปลว่า “ความรัก”) จากพระองค์ทั้งๆที่ไม่สมควรจะได้รับ ถ้าเช่นนั้นเราสามารถดำเนินชีวิตอยู่ในความบาป เพื่อให้พระคุณมากยิ่งขึ้นหรือ (รม 6:1)
คำตอบเกี่ยวกับการประพฤติหลังจากได้รับความหลุดพ้นโดยพระคุณแล้ว
-อย่าให้เป็นเช่นนั้นเลย พวกเราได้ตายต่อบาปแล้ว จะมีชีวิตอยู่ในบาปต่อไปอีกได้อย่างไร” (รม 6:2)
-หลักคำสอนเช่นนี้เรียกกันว่า “การดำเนินชีวิตอยู่ภายใต้พระคุณของพระเจ้า” ซึ่งปฏิเสธความบริสุทธิ์อันเกิดจากการประพฤติตามธรรมบัญญัติ ที่เป็นคำสอนของลัทธิยูดาห์ ลัทธิยูดาห์ มีความเชื่อและความเข้าใจว่า พระเจ้าจะไม่ยอมรับเราโดยพระคุณเพราะความเชื่อ เขาเชื่อว่า จะต้องประพฤติปฏิบัติตามด้วย พระเจ้าจึงจะยอมรับ ลัทธินี้เป็นศัตรูแห่งกางเขนของพระเยซูคริสต์ (ฟป 3:19)
-เพราะว่า “พระเยซูตายเพื่อเราจะได้รับการอภัย และพระองค์ตายเพื่อจะทำให้เราทั้งหลายเป็นคนดี” เมื่อเราเป็นคนดี หรือหลุดพ้นโดยพระคุณแล้ว จึงไม่มีเหตุผลอันใดที่เราจะทำบาปเพื่อให้พระคุณมากขึ้น (รม 6:1-2)
ข้อคัดค้าน 3 ประการ คัดค้านคนที่เชื่อว่าการหลุดพ้นโดยเชื่อนั้นไม่พอ
-คัดค้านพวกที่ถือลัทธิยูดาห์
-คัดค้านพวกนิกายโปรเตสแตนท์ที่เรียกตนเองว่าคริสเตียน
-คัดค้านพวกที่นับถือนิกายคาทอลิกที่เรียกตัวเองว่า คริสตัง
-คัดค้านทุกคนที่เชื่อว่าหลุดพ้นบาปด้วยพระคุณของพระเจ้าเท่านั้นไม่พอ จะต้องประพฤติตามด้วย
-สาเหตุที่คัดค้าน เพราะเป็นไปไม่ได้ที่จะมีมนุษย์ช่วยพระเจ้าได้โดยการประพฤติตามธรรมบัญญัติ เพื่อจะทำให้ความหลุดพ้นสมบูรณ์
กล่าวโดยสรุปคือ ความหลุดพ้นมีอยู่ 3 ขั้นตอน
-ความหลุดพ้นขั้นที่ 1 (Justification) นี้ ไม่ได้หยุดอยู่แค่นั้น แต่จะต้องดำเนินไปสู่ความหลุดพ้นขั้นที่ 2 (Sanctification) ซึ่งเป็นขบวนการที่ต่อเนื่อง และการได้รับความหลุดพ้นทั้งสองขั้นนี้ เราได้รับพระธรรมของพระเจ้า และพระธรรมนี่เอง เป็นพลัง เป็นอำนาจที่จะทำให้เราดำเนินชีวิตอย่างถูกต้องตามน้ำพระทัยของพระองค์ (หากเรายอม)
เขียนโดย Banpote Wetchgama (ศูนย์พันธกิจอุดรธานี)
แก้ไขล่าสุด ใน วันพฤหัสที่ 8 พฤษภาคม 2012 เวลา 15:10 น.
(ข้อมูลที่นำมาเขียนในบทเรียน “ความหลุดพ้นขั้นที่ 1 (Justification) การถูกชำระให้เป็นคนบุญ” นี้ แปลและเรียบเรียงมาจากหนังสือ “Basic Introduction to the New Testament by John R. W. Stott” PP. 52-78,1964.)