การไปศาลด้วยตนเอง
คอลัมน์ กฎหมายน่ารู้ โดย : สู้คดีดอทคอม sukadee.com
การไปศาลด้วยตนเอง
เมื่อท่านไปดำเนินคดีด้วยตนเองที่ศาล ศาลจะมีระเบียบให้โอกาสคู่ความได้ไกล่เกลี่ยกันก่อนเป็นส่วนใหญ่
เนื่องจากศาลจะจัดให้มีการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทก่อนมีการสืบพยานเพื่อช่วย ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีของตัวความ ช่วยให้จำเลยและโจทก์หาทางยุติคดีโดยทำข้อตกลงประนีประนอมที่ทั้งสองฝ่ายยอม รับได้ หรือตกลงถอนฟ้อง ซึ่งจะทำให้ทั้งสองฝ่ายยังคงรักษาความสัมพันธ์ต่อไปได้
ถึงแม้ว่าท่านประสงค์ที่จะให้มีการไกล่เกลี่ยในศาล ท่านยังคงมีหน้าที่ต้องยื่นคำให้การภายในเวลาที่ศาลกำหนด มิฉะนั้น อาจเสียสิทธิในการต่อสู้คดี
แนวปฏิบัติของศาลในวันนัดครั้งแรกส่วนใหญ่จะดำเนินการเหมือนกันดังนี้
คดีจัดการพิเศษ
๑. ศาล จะพิจารณาคดีจัดการพิเศษ ให้แล้วเสร็จในวันนัด จึงให้คู่ความเตรียมพยานหลักฐานมาให้พร้อม มิฉะนั้นอาจถือได้ว่าคู่ความไม่มีพยานมาสืบ
๒. ใน คดีที่คู่ความประสงค์จะเจรจาตกลงกัน ศาลจะนัดให้คู่ความพบกับผู้ประนีประนอมของศาลก่อน เมื่อคดีมีแนวโน้มที่จะตกลงกันได้ศาลจึงจะใช้ดุลพินิจอนุญาตให้เลื่อนคดีไป เพื่อให้โอกาสเจรจาตกลงกัน มิฉะนั้นจะพิจารณาคดีไปโดยไม่เลื่อนคดี
๓. ใน คดีที่คู่ความให้การต่อสู้และศาลไม่สามารถพิจารณาคดีให้แล้วเสร็จในวันนัด ได้เมื่อศาลอนุญาตให้เลื่อนคดีแล้วศาลจะกำหนดนัดครั้งต่อไปในวันนัดคดี จัดการพิเศษตามที่ศาลได้ประกาศไว้เว้นแต่ศาลจะเห็นสมควรให้กำหนดนัดในวันนัด ในระบบการนั่งพิจารณาคดีต่อเนื่อง ตามข้อ ๔
คดีสามัญ
๔. ในคดีสามัญที่จำเลยให้การต่อสู้คดี เมื่อถึงวันนัดแรกศาลจะสอบถามคู่ความทั้งสองฝ่ายเกี่ยวกับจำนวนพยานคู่ความประสงค์จะนำสืบ โดย
- ในคดีอาญาศาลจะกำหนดวันนัดพิจารณาคดีต่อเนื่องทันที (นัดทั้งวันทำการติดต่อกันไป)
- ใน คดีแพ่งศาลจะสอบถามคู่ความเกี่ยวกับการเจรจาไกล่เกลี่ยก่อน ถ้าคู่ความประสงค์จะเจรจาไกล่เกลี่ย ศาลจะสอบถามคู่ความเกี่ยวกับการเจรจาไกล่เกลี่ยก่อน โดยคู่ความจะต้องเจรจาให้เสร็จก่อนถึงวันนัดสืบพยาน
๕. เมื่อศาลกำหนดวันนัดพิจารณาคดีต่อเนื่องแล้ว คู่ความควรแจ้งให้ศาลทราบถึงแนวทางการดำเนินคดีในเรื่องต่างๆดังต่อไปนี้
- การเสนอให้คู่ความอีกฝ่ายรับข้อเท็จจริงอย่างใดอย่างหนึ่ง
- การสืบพยานบุคคลที่มีอายุไม่เกิน ๑๘ ปีในคดีอาญา
- การส่งประเด็นไปสืบพยานที่ศาลอื่น
- การขอออกหมายเรียกพยานบุคคล
- การส่งตรวจพิสูจน์หลักฐาน
- การเดินเผชิญสืบ
- การขอออกคำสั่งเรียกพยานเอกสาร
- การใช้ล่าม
- การทำแผนที่พิพาท
ในกรณีดังกล่าวคู่ความจะต้องปฏิบัติดังต่อไปนี้
- ยื่นบัญชีพยานต่อศาลก่อนหรือภายในวันนัดพร้อม โดยระบุหมายเลขโทรศัพท์หรือสถานที่ต่อพยานให้ศาลทราบด้วย
- จัดทำคำแถลงหรือแถลงด้วยวาจาเกี่ยวกับการเสนอให้รับข้อเท็จจริง
- จัดทำคำร้องขอให้ศาลออกหมายเรียกหรือคำสั่งเรียกตามที่ศาลกำหนด
เมื่อได้ดำเนินการแล้วศาลจะสอบถามในเรื่องการรับข้อเท็จจริงและความจำเป็น ในการขอ อำนาจ
ศาลเพื่อรวบรวมพยานหลักฐาน จากนั้นศาลจะออกหมายเรียกคำสั่งเรียกหรือดำเนินการต่างๆ ให้ในวัน
นัดพร้อมทันที ซึ่งจะออกให้คู่ความ ไม่ต้องมาศาลเพื่อดำเนินการในเรื่องเหล่านี้อีก
คำแนะนำวิธีปฏิบัติในวันนัดพิจารณาคดีผู้บริโภค
หาก ในวันนัดพิจารณา คู่ความฝ่ายใดไม่มาศาลไม่ว่าจะเป็นวันนัดพิจารณาครั้งแรกหรือวันพิจารณาที่ เลื่อนออกไป ศาลจะดำเนินกระพิจารณาดังนี้
๑. หาก โจทก์ไม่มาวันนัดพิจารณาโดยไม่ได้รับอนุญาตจากศาลให้เลื่อนคดี ไม่ว่าจำเลยจะมาศาลหรือไมกฎหมายให้ถือว่าโจทก์ไม่ประสงค์จะดำเนินคดีต่อไป ให้ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดีออกเสียจากสารบบความเว้นแต่ตามพฤติการณ์แห่งคดี ศาลเห็นสมควรให้พิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีนั้นไปฝ่ายเดียว โดยให้ถือว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณา
๒. หาก จำเลยไม่มาศาลในวันนัดพิจารณาและไม่ให้การ กฎหมายให้ถือว่าจำเลยขากนัดยื่นคำให้การจำเลยมีสิทธิเพียงถามค้านพยานโจทก์ ที่ยังสืบไม่บริบูรณ์ในขณะที่ตนมาศาล แต่จะนำเสนอพยานหลักฐานของตนไม่ได้
๓. หาก จำเลยยื่นคำให้การแล้วแต่ไม่มาศาลวันนัดพิจารณา กฎหมายให้ถือว่าจำเลยขาดนัดพิจารณา และให้ศาลพิจารณาชี้ขาดตัดสินคดีนั้นไปฝ่ายเดียว โดยห้ามไม่ให้ศาลอนุญาตให้จำเลยนำพยานเข้าสืบ หากจำเลยมาศาลเมื่อพ้นเวลาที่จะนำพยานของตนเข้าสืบแล้ว และห้ามไม่ให้ศาลยอมให้จำเลยคัดค้านพยานหลักฐานของโจทก์ที่สืบไปแล้วด้วยการ ถามค้านคัดค้านการระบุเอกสารของโจทก์ คัดค้านคำขอที่ให้ศาลไปทำการตรวจหรือให้ตั้งผู้เชี่ยวชาญของศาลแต่หากโจทก์ นำพยานหลักฐานเข้าสืบยังไม่บริบูรณ์ให้ศาลอนุญาตให้จำเลยหักล้างได้แต่เฉพาะ พยานหลักฐานที่นำสืบภายหลังที่ตนมาศาล
ดังนั้นเมื่อศาลกำหนดวันนัดพิจารณาแล้ว โจทก์และจำเลยควรมาศาลตามกำหนดนัดโดยเคร่งครัด ทั้งนี้เพื่อมิให้เสียสิทธิในการเสนอพยานหลักฐานเพื่อสนับสนุนคำฟ้องของตน หรือหักล้างพยานหลักฐานของคู่ความอีกฝ่ายหนึ่ง
ในวันนัดพิจารณาเมื่อโจทก์และจำเลยมาพร้อมกันแล้ว ศาลจะดำเนินกระบวนการพิจารณา ดังนี้
๑. ศาล จะให้พนักงานคดีไกล่เกลี่ยและช่วยเหลือให้คู่ความบรรลุถึงข้อตกลงร่วมกัน เว้นแต่ในกรณีมีเหตุสมควร ศาลจะแต่งตั้งให้ผู้ประนีประนอมประจำศาลทำหน้าที่ไกล่เกลี่ย
๒. หาก คู่ความมีความประสงค์ร่วมกันที่จะให้บุคคลใดเป็นผู้ไกล่เกลี่ย และแจ้งต่อเจ้าหน้าที่งานคดีพร้อมสถานที่ติดต่อและหมายเลขโทรศัพท์ของบุคคล นั้น ศาลจะให้พนักงานคดีติดต่อไปยังบุคคลดังกล่าวเพื่อให้มาทำหน้าที่เป็นผู้ไกล่ เกลี่ยแทนเว้นแต่จะทำให้คดีเนิ่นช้าเสียหาย
๓. หาก คู่ความไม่สามารถตกลงกันได้ และคู่ความฝ่ายใดประสงค์จะยื่นคำให้การหรือบัญชีระบุพยานคู่ความฝ่ายนั้น ต้องจัดทำคำให้การหรือบัญชีระบุพยานดังกล่าวให้เรียบร้อย
๔. จำเลยจะยื่นคำให้การเป็นหนังสือด้วยตนเองในวันนัดพิจารณาหรือก่อนวันนัดพิจารณาก็ได้
ดังนั้นเมื่อศาลกำหนดวันนัดพิจารณาแล้ว โจทก์และจำเลยควรหาแนวทางเพื่อบรรลุข้อตกลงร่วมกันมาก่อนวันนัดพิจารณา
ที่มา : http://www.sukadee.com
แก้ไขล่าสุด (วันพุธที่ 20 มิถุนายน 2012 เวลา 21:55 น.)