ความร้อนมาจากทางไหน ก็ปรับไปตามนั้น
ความร้อนมาจากทางไหนก็ปรับไปตามนั้น
มาสำรวจกันว่าความร้อนในบ้านคุณมาจากทางไหนกันเถิดครับ
- หลังคาและฝ้า
อาการ บ้าน 2 ชั้นร้อนมากขึ้นทุกปีโดยเฉพาะห้องบริเวณชั้น 2 ที่ร้อนจนนอนไม่หลับ - ผนัง
อาการ บ้านชั้นเดียวที่ความร้อนก่อตัวขึ้นจากห้องใดห้องหนึ่งเพราะห้องๆ นั้นหันหน้าเข้าแสงแดด - พื้นนอกบ้าน
อาการ บ้านที่มีพื้นที่หน้าบ้านอย่างโรงรถ ทางเดินรอบบ้าน เทคอนกรีตทั้งแผ่น ลมพัดมาทีก็หอบเอาความร้อนที่เก็บกักไว้ใต้พื้นเข้าบ้าน
ถ้าข้อไหนเรียกว่าใช่ที่สุดก็นั่นก็แสดงว่าบ้านเก่าของคุณต้องการตัวช่วยคลายร้อนให้กับบ้านแล้วครับ
หลังคาและฝ้า
อาการของบ้าน 2 ชั้น ที่มีไอร้อนส่งลงมาจากห้องบริเวณชั้น 2 นั่นก็เพราะหลังคา และฝ้าซึม ซับความร้อนจากแสงแดดที่ส่องลงมาจากหลังคาอย่างเต็มที่ การแก้ปัญหาจึงทำได้ด้วยการติดตั้งฉนวนกันความร้อน หรือตรวจสอบคุณภาพฉนวนตัวเก่า (ในกรณีที่ติดตั้งไว้นานแล้ว) ทั้งอายุการใช้งาน และสภาพของแผ่นฉนวน หลายบ้านเข้าใจว่าฉนวนแบบไหนก็กันความร้อนเท่ากัน ต้องบอกว่าไม่จริงครับ เพราะฉนวนกันความร้อนปัจจุบันพัฒนาให้หนาขึ้นเพื่อความสามารถในการซึมซับกัก เก็บความร้อนไม่ให้ซึมเข้ามาในบ้านได้อย่างมีประสิทธิภาพกว่า ติดตั้งก็ง่าย งบก็ไม่บานปลายเพราะอายุการใช้งานที่นาน บ้านเย็นไปได้หลายปี คุ้มค่าทุกบาทที่ลงทุนแน่ครับ
ผนัง
ในกรณีบ้านชั้นเดียวที่มีแหล่งความร้อนจากส่วนที่รับแสงแดดโดยตรง โดยความร้อนจะรุกคืบเข้ามาจากทางผนังเสีย เป็นส่วนใหญ่ การแก้ไขก็สามารถทำได้ด้วยการติดเกราะกันแดดให้บ้านครับ โดยวิธีการก็คือการเลือกใช้แผงระแนงกันแดดที่สามารถป้องกันแสงแดดที่ส่องมา ยังผนังบ้านโดยตรง ทั้งยังติดตั้งง่าย เพียงเลือกจุดที่โดนแดดมากที่สุดแล้วเจาะยึดกับผนังภายนอกได้ทันที พอผนังภายนอกไม่ต้องรับแดดแบบเต็มๆ ความร้อนก็ไม่สะสมและคายไอร้อนเข้าบ้านได้ ค่าไฟจากการใช้แอร์ก็ประหยัดขึ้นครับ
พื้นที่นอกบ้าน
เพราะพื้นคอนกรีตขนาดใหญ่สะสมความร้อนได้ดี บ้านที่มีทั้งโรงรถ ทางเดินรอบบ้านเป็นพื้นคอนกรีตจึงกลายเป็นพื้นที่คายความร้อนเข้าบ้านจุดหลักๆ การแก้ไขสามารถทำได้ทั้งแบบเปลี่ยน หรือปรับ การเปลี่ยนได้แก่ การเปลี่ยนมาใช้พื้นทางเดินบางส่วนด้วยการใช้ บล็อกปูพื้น ที่มีคุณสมบัติการกักเก็บน้ำสูง เมื่อแสงแดดตกกระทบลงบนพื้น ผิวบล็อกก็จะค่อยๆ ระเหยกลายเป็นไอ ช่วยให้บริเวณพื้นผิวมีอุณหภูมิต่ำกว่าพื้นผิวคอนกรีตทั่วไป แค่นี้พื้นก็สร้างไอเย็นได้แล้วครับ มาถึงการปรับ ที่อยากแนะนำได้แก่การปรับพื้นที่ในบริเวณนั้นด้วยการปลูกต้นไม้ ไม่ว่าจะเป็นไม้กระถาง หรือสวนแนวตั้ง เพราะร่มเงาจากต้นไม้ก็สามารถทำให้พื้นบริเวณนั้นเย็นลง ร่วมด้วยการที่ต้องหมั่นรดน้ำอยู่บ่อยๆ ความชื้นที่สะสมอยู่ในบริเวณก็สามารถทำให้พื้นที่มีไอเย็นได้ไม่ยากครับ
ที่มา : www.trachang.co.th