ประวัติวันขอบคุณพระเจ้า
ประวัติวันขอบคุณพระเจ้า
ข้อมูลจากเว็บ Thai NewYork Online Thai Community
http://www.thainewyork.com/
ในประเทศอเมริกา ทุกวันพฤหัสบดีที่ 4 ของเดือนพฤศจิกายน จะเป็นวันขอบคุณพระเจ้าซึ่งชาวอเมริกันจะฉลองขอบคุณ สรรเสริญพระเจ้าที่อวยพระพรพวกเขาทั้งหลายให้มีความสุขทั้งกายและใจตลอดปี ที่ผ่านมา เป็นวันสำคัญสำหรับครอบครัวที่จะอยู่พร้อมหน้ากัน ทุกคนเพื่อรับประทานอาหารเย็น รวมทั้งพูดคุยถึงสิ่งที่ ต้องการขอบคุณพระเจ้า
ตามความเป็นจริงแล้ว วันขอบคุณพระเจ้านี้ไม่ได้เกี่ยวข้องกับศาสนาคริสต์เลย แต่เป็นวันที่เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ของ การอพยพตั้งถิ่นฐาน ครั้งแรก ในอเมริกาในปี ค.ศ. 1620 เริ่มจากชาวอังกฤษกลุ่มหนึ่งซึ่งเรียกตนเองว่า พิวริแทน (Puritans) นับถือศาสนาคริสต์นิกายโปรเตสแตนท์ ต้องการปรับเปลี่ยนรูปแบบ ศาสนาในประเทศอังกฤษซึ่งในยุคนั้นเป็นนิกาย เชิร์ชออฟอิงแลนด์ (Church of England) ให้เป็นไปตามความเชื่อ เน้นความเรียบง่ายไม่หรูหรา
ผลปรากฏว่าพวกพิวริแทน ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ จนในที่สุดได้ตัดสินใจ ตั้งศาสนจักรเป็นของตนเอง เป็นเหตุให้เหล่าขุนนางอังกฤษไม่พอใจและเริ่มทำร้าย ประหัตประหารพวกพิวริแทนจนพวกเขาต้องหนีไปอยู่ ที่ประเทศฮอลแลนด์ซึ่งยังได้รับปัญหาอีกจากการถูกข่มเหงรังแก สืบเนื่องมาจากศาสนา นอกจากนี้พวกเขายังรู้สึกเสียใจที่ลูกหลานไม่พูดภาษาอังกฤษ แต่ไปพูดภาษาดัทช์แทน ทำให้พวกเขาคิด ย้ายถิ่นฐานอีกครั้ง ซึ่งคราวนี้พวกเขานึกถึงการย้ายถิ่นฐานไปยังดินแดนที่ไม่มี ผู้ใดสามารถมายับยั้งหรือขัดขวางการนับถือศาสนาตามความเชื่อและความศรัทธา พวกเขาจึงตัดสินใจเดินทางกลับประเทศอังกฤษ
จากนั้นกลุ่มพิวริแทน พร้อมกับผู้โดยสาร อื่น ๆ ทั้งชายหญิงและเด็กจำนวน 102 คน บนเรือ เมย์ลาวเวอร์ (Mayflower) ออกเดินทางมุ่งหน้าสู่โลกใหม่และพวกพิวริแทน เริ่มเรียกตัวเองว่าพิลกริม (Pilgrims) เนื่องมาจากการท่องหาดินแดนแห่งเสรีภาพทางศาสนานี้
ระหว่างการเดินทางโดยเรือในเดือนกันยายนเป็นช่วงเวลาที่แย่ที่สุดสำหรับการ แล่นเรือข้ามมหาสมุทร อย่างไรก็ตามระหว่าง การเดินทางมี ผู้เสียชีวิตเพียง 1 คนเท่านั้น และมีทารกแรกเกิด 1 คน ฉะนั้นจำนวนผู้โดยสารบนเรือยังคงมีจำนวนเท่าเดิม หลังจาก ใช้เวลาแล่นเรือประมาณ 65 วันเรือเมย์ฟลาวเวอร์ มาจอดเทียบท่าที่ พรอวินซ์ทาวน์ฮาร์เบอร์ (Provincetown Harbor) ซึ่งอยู่ในปลายแหลมเคพคอด (Cape Cod) มลรัฐแมซซาชูเสท
ผู้นำกลุ่มพิวรีแทนทั้งหลายทราบดีว่า เพื่อการอยู่รอดในสังคมทุกๆ สังคมจำเป็นต้องมีกฎระเบียบสำหรับความประพฤติ อันเหมาะสม ดังนั้นผู้ชายประมาณ 41 คนที่อยู่บนเรือเมย์ฟลาวเวอร์ประชุมเลือกผู้ว่าการรัฐคนแรก (The first governor) และเซ็นสัญญาเมย์ฟลาวเวอร์ (The Mayflower Compact) ซึ่งเป็นข้อตกลงทางการข้อแรกสำหรับการปกครอง ตนเองในประเทศอเมริกา หลังจากกลุ่มพิลกริม ได้ใช้ชีวิตบนเรือประมาณ 1 เดือนและส่งผู้ชายกลุ่มเล็กกลุ่มหนึ่งออกไปสำรวจชายฝั่งอ่าวเคพคอด และเมืองพลีมัธ (Plymouth)
พวกผู้ช่วยได้พบท่าเรือแห่งหนึ่งซึ่งมีทรัพยากรสมบูรณ์มากเหมาะต่อการเพาะ ปลูกและการประมงจึงกลับไปที่เรือรายงานสิ่งที่ พวกเขาได้ค้นพบอีก 2-3 วัน ต่อมาพวกพิลกริมแล่นเรือเมย์ฟลาวเวอร์ข้ามอ่าวเคพคอดไปยังท่าเรือพลีมัธ และลงเรือเล็กมาเทียบที่ชายฝั่ง บนหินก้อนใหญ่ ก้อนหนึ่งในภายหลังหินก้อนนี้ได้รับการเรียกขานว่า หินพลีมัธ (Plymouth Rock) ซึ่งเป็นการเริ่มต้นการตั้งถิ่นฐาน ถาวรครั้งที่สองของชาวอังกฤษในอเมริกา
เมื่อเวลาผ่านไปเข้าสู่ฤดูหนาว (Winter) พวกพิลกริมต้องเผชิญกับการต่อสู้ภัยธรรมชาติ ซึ่งยากที่จะรับมือได้เนื่องจาก ไม่คุ้นเคยและไม่ได้รับการฝึกฝนทนกับความหนาวเย็น การใช้ชีวิตในป่าดงพงไพรอันเต็มไปด้วยโรคต่าง ๆ การทำงานหนัก ตลอดจนอาหารมีไม่เพียงพอ พวกเขาจึงได้รับความทุกข์ทรมานอย่างมากจนถูกคร่าชีวิตไปกว่าครึ่งหนึ่ง เมื่อสิ้นสุดฤดูหนาว จำนวนผู้รอดชีวิตเหลืออยู่แค่ 50 คนเท่านั้น
ในเช้าวันหนึ่งของฤดูใบไม้ผลิอันเป็นฤดูกาลถัดจากฤดูหนาว ชายชาวอินเดียนแดงคน หนึ่งเดินเข้ามาในหมู่บ้านเล็ก ๆ ของพลีมัธ และแนะนำตัวเองอย่างเป็นมิตรซึ่งในเวลาต่อมาเขาได้นำหัวหน้าเผ่าอินเดียนแดง ชื่อแมสซาซอยท์ (Massasoit) นำของกำนัลต่างๆ มามอบให้พวกพิลกริม และยังเสนอความช่วยเหลืออีกด้วย โดยสมาชิกในเผ่าของแมสซาซอยท์ได้สอนวิธีการล่าสัตว์ จับปลาและปลูกพืชให้กับพวกพิลกริม นอกจากนี้ยังสอนวิธีการใช้ปลา เป็นปุ๋ยสำหรับปลูกข้าวโพด (Corn) ฟักทอง (Pumpkins) และถั่ว (Beans)มีผลให้พวกพิลกริมสามารถเก็บเกี่ยว พืชผลได้อย่างดีมาก
ผู้ว่าการวิลเลี่ยม แบรดฟอร์ด (William Bradford) เจริญรอยตามแบบแผนประเพณีเก่าแก่ที่เคยปฏิบัติกันมา ได้กำหนดวันเพื่อขอบคุณพระเจ้าในฤดูใบไม้ร่วงปี ค.ศ. 1621 และยังได้ใช้โอกาสทางศาสนานี้สร้างสายสัมพันธ์ อันดีงามระหว่างพวกพิลกริม และเพื่อนบ้านชาวอินเดียนแดงเหล่านั้น ด้วยเหตุนี้ผู้ว่าการวิลเลี่ยมจึงเชื้อเชิญหัวหน้าเผ่าอินเดียนแดง นายแมสซาซอยท์ และผู้กล้าของเขาให้มาร่วมงานสังสรรการเฉลิมฉลองวันขอบคุณพระเจ้านี้ ซึ่งพวกอินเดียนแดงรับคำเชิญ ด้วยความยินดี และส่งเนื้อกวางมาร่วมงานเลี้ยง ชายฉกรรจ์พิลกริมทั้งหลายจึงออกไปล่าสัตว์และกลับมายังที่พักพร้อมกับไก่งวง (Turkey) และสัตว์ป่าอื่นๆ ส่วนผู้หญิงเตรียมอาหารอร่อยๆ ซึ่งทำมาจากข้าวโพด ลูกเเครนเบอรี่ (Cranberry) ผลสควอช (Squash) และฟักทอง
อาหารมื้อเย็นสำหรับขอบคุณพระเจ้าครั้งแรกเสร็จเรียบร้อยและถูกนำมาเสริฟนอก บ้าน รวมทั้งกองไฟกองใหญ่ที่ก่อขึ้น เพื่อให้ผู้จัด (Hosts) และแขกผู้มาเยือน (Guests) รู้สึกอบอุ่นถึงแม้ว่าเป็นช่วงปลายฤดูใบไม้ร่วงก็ตามรวมจำนวน ของผู้มาร่วมงานเลี้ยงขอบคุณพระเจ้าครั้งแรกประมาณ 90 คน และการฉลองนี้ใช้เวลานานถึง 3 วัน ในวันแรกของงานเลี้ยง พวกอินเดียนแดงใช้เวลาหมดไปกับการกิน ส่วนวันที่สองและสามพวกเขาใช้เวลาต่อสู้แบบมวยปล้ำ วิ่งแข่ง ร้องเพลงและเต้นรำกับ คนหนุ่มสาวในอาณานิคมพลีมัธนับเป็นงานเลี้ยงที่ประสบความสำเร็จอย่างใหญ่ หลวง
ประเพณีการฉลองวันขอบคุณพระเจ้าของคนอเมริกันในยุคปัจจุบันมีที่มาจากการ ฉลองวันขอบคุณพระเจ้าครั้งแรกดังกล่าว ดังนั้นอาหารหลักบนโต๊ะอาหารในวันนี้ซึ่งถือเป็นอาหารประจำเทศกาลขอบคุณพระ เจ้าจะมีไก่งวงอบยัดไส้ (Roast turkey with stuffing) ผลสควอชขนมปังข้าวโพด(Corn bread) และซอสแครนเบอร์รี่ (Cranberry sauce) พายฟักทอง (Pumpkin pie) เช่นเดียวกับอาหารที่หาและเก็บเกี่ยวได้ ในยุคสมัยนั้น
ทุก ๆ ปีชาวอเมริกันประมาณห้าแสนคน จะเดินทางไปเยี่ยมชมเมืองพลีมัธซึ่งกลายเป็นเมืองนำสมัยที่ยกย่องเทิดทูน อดีตกาล ยุคแรกเริ่มของชาวอเมริกันที่นี่ นักท่องเที่ยวสามารถเยี่ยมชมเรือเมย์ฟลาวเวอร์สองได้ซึ่งเป็นเรือที่สร้าง เลียนแบบ แรือเมย์ฟลาวเวอร์จริง เยี่ยมชมหินพลีมัธและใช้เวลาเดินชมหมู่บ้านจำลองของพวกพิลกริมในสมัยแรก เริ่ม ซึ่งจะได้เห็นการดำเนินชีวิตจริง ในยุคนั้น ชาวอเมริกันรุ่นใหม่รู้สึกภาคภูมิใจและทนงในบรรพบุรุษที่มีความกล้าหาญของ พวกเขาเหล่านี้ซึ่งมีสิ่งอำนวยความสะดวกน้อยมากถ้าเทียบกับมาตรฐานการ ดำเนินชีวิตในปัจจุบัน แต่พวกเขายังรู้สึกขอบคุณสำหรับสิ่งที่ได้รับอันมีคุณค่าอย่างยิ่งหาใดมา เปรียบได้นั่นก็คือ การเก็บเกี่ยวพืชผลที่ดีเสรีภาพในการดำเนินชีวิตและสักการะบูชาตามความเชื่อ และปรารถนาของพวกเขาเอง
ที่มา :http://www.fwdder.com/topic/196379